Black Design : TATALA” วิถีชีวิตชาวต๋าอู้ การสร้างสรรค์งานวิจิตรศิลป์สี สู่วิถีชาวแคมป์ปิ้ง กับธรรมชาติ เก้าอี้แคมป์ปิ้ง CampOne NR
07 เม.ย. 2023
ความเชื่อ “TATALA” วิถีชีวิตชาวต๋าอู้ การสร้างสรรค์งานวิจิตรศิลป์สี สู่วิถีชาวแคมป์ปิ้ง กับธรรมชาติ
.
.
ใครผ่านไปผ่านมาที่แคมป์วันทุกสาขา หลายๆท่านอาจจะได้เห็นเก้าอี้ ที่มีลายพิเศษสวยงามตั้งอยู่ที่ร้านแคมป์วัน บางท่านอาจจะอยากทราบที่มาของภาพ
วันนี้แอดมินเองจะนำเสนอเรื่องราว ทางศิลปะ ชีวิตและธรรมชาติ ตามบริบท ของ #BlackDesign ที่ว่า ART x LIFE x NATURE
ภาพสีน้ำมัน ที่ถูกถ่ายทอดมาลงบนลายผ้าเก้าอี้ #BlackDesign
ตัวขวามือ สีฟ้าน้ำทะเลและมีอะไรแหลมๆ สีแดงขาว อยู่ตรงกลางภาพนี้
ชื่อภาพว่า The Story of Ping Pangzhou (TATALA).
.
“ภาพบรรยาย เรื่องราวของเกาะ เปรียบโรงละครแห่งท้องทะเลกับเรือTATALA ที่จอดอยู่ ปลาบินกระโดด แสงและเงาที่เงียบสงบ”
“品名:拼板舟的故事
海洋劇場中,停泊的拼板舟、跳躍的飛魚,當樂聲響起,靜謐的光影中,敘述著這島嶼的故事。#MinChungC”
รังสรรค์จากความคิดและปลายพู่กันของท่าน明中 Chuang, Min – Chung ท่านอจ.จ้วงหมิง โดย ท่าน ศจ พิเศษและศิลปินที่โด่งดังในไต้หวัน ผู้อำนวยการกรมศิลปากรมหาวิทยาลัยการศึกษาแห่งชาติไถจง ศาสตราจารย์พิเศษกรมศิลปากรมหาวิทยาลัยครูแห่งชาติไต้หวัน
莊明中 Chuang, Min – Chung ท่านอจ.จ้วงหมิง โดย ท่านเติบโตที่ชายฝั่งไต้หวันและในวัยเด็ก ท่านก็ใกล้ชิดกับ “ปลา” ในชีวิตของท่าน ไต้หวันตั้งอยู่บนเกาะกลางมหาสมุทรและมีลักษณะเป็น “ปลา” จากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของไต้หวันและการผสมผสานของวัฒนธรรมที่หลากหลายผลงานชุดนี้ใช้การผสมผสานระหว่าง “ปลา” และทิวทัศน์ของไต้หวันเพื่ออธิบายถึงการทำงานหนักของชาวไต้หวัน ความพึงพอใจ ในธรรมชาติ มุมมองของ ชีวิตและการสำรวจวิวัฒนาการของอารยธรรมโบราณในโลก โดยเฉพาะชนเผ่าต๋าอู้ (達悟) ในไต้หวัน
ลายภาพเขียนของท่าน เป็นการนำเสนออัตลักษณ์ที่โดดเด่นด้านความงาม ระหว่างขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมท้องถิ่น ชุดความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมผ่านรูปแบบขององค์ประกอบตามช่วงเวลาและสภาพแวดล้อม การสร้างสรรค์ของท่าน อจ ในช่วงสามปีที่ผ่านมา (2552 ~ 2554) รูปแบบปละแนวคิดได้รับการพัฒนาโดยใช้รูปภาพของ ปลา ผีเสื้อ โครงกระดูกไก่ และไดโนเสาร์ ฝึกฝนผ่านเทคนิคการวาดภาพสีน้ำมันและความคิดร่วมสมัยและใช้แนวคิดเช่นภาพตัดต่อ “ภาพตัดต่อ” เพื่อแสดงวิวัฒนาการของอารยธรรมโบราณ จากความสัมพันธ์ระหว่าง “คน” “ปลา” และ “ธรรมชาติ” สำรวจความหมายทางวัฒนธรรมท้องถิ่น และอารยธรรมโบราณของชาวเต๋า ที่ท่านยกย่องการดูแลและเป็นชนเผ่าและจุดเริ่มต้นกำเนิดดินแดนและอารยธรรมของมนุษย ในเกาะไต้หวัน สะท้อนและอธิบายผ่านภาพเรือ TATALA .
.
.
ตาลาล่า ภาษาพื้นบ้าน เรียกเรือ ชนิดนี้ว่า พินป่านโจว (拼板舟, pīnbǎnzhōu) หรือที่เรียกในชื่อภาษาต๋าอู้ว่า “TATALA” ตาตาล่า
เรือซึ่งเป็นของชนเผ่าต๋าอู้ (達悟) ที่เกาะหลานหยวี่ (蘭嶼) เกาะเล็กๆทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะไต้หวัน
เรือที่ชาวเผ่าต๋าอู้ สร้างขึ้นเองด้วยมือ ว่ากันว่าผู้ชายคนไหนที่สร้างเรือด้วยตัวเองแล้วเรือสามารถใช้งานได้ จะได้การยอมรับนับถือจากคนอื่น เป็นวิถีลูกผู้ชายของชาวชนเผ่า TATALA สร้างจากไม้ทั้งลำ
คนสร้างต้องเริ่มตั้งแต่ไปตัดไม้ในป่ามาทำเรือ ซึ่งต้นไม้นั้น เป็นของเค้าเอง เด็กผู้ชายทุกคนพอเกิดมาแล้วพ่อจะพาไปปลูกต้นไม้ในป่า แล้วต้นไม้ต้นนั้นจะเป็นของเค้าคนเดียว พอเค้าโตเป็นหนุ่มเค้าก็จะมีสิทธิ์ไปตัดต้นไม้ต้นนั้นมาสร้างเรือ
ชาวต๋าอู้ดำรงชีวิตโดยการประมงเป็นหลัก ดังนั้นเรือจึงมีความสำคัญมากสำหรับพวกเขา
ซึ่งเรือที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานโดยมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองนี้
เรือนี้มีลักษณะที่คล้ายกับเรือญี่ปุ่นอยู่จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีความเชื่อมโยงกัน แต่โดยรายละเอียดแล้วก็ไม่มีใครรู้ที่มาแน่ชัด
ภาษาต๋าอู้ตั้งแต่อดีตมาไม่มีอักษรเป็นของตัวเอง ดังนันจึงไม่มีการบันทึกอะไรเป็นลายลักอักษรไว้เลย ยากจะสืบค้นอะไรต่างๆในอดีต
ชาวต๋าอู้และเกาะหลานหยวี่ ไต้หวันนั้นแม้ว่าจะเป็นที่รู้กันว่าประกอบขึ้นจากประชากรชาวจีนเป็นหลัก แต่ว่าในความจริงแล้วคนจีนเพิ่งมาอาศัยอยู่เมื่อช่วงปลายยุคราชวงศ์หมิงเท่านั้น และได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของจีนในยุคราชวงศ์ชิงก่อนหน้านั้นมีชนเผ่าที่อยู่ในไต้หวันมากมาย ทั้งในเกาะไต้หวันและเกาะเล็กๆในบริเวณ เผ่าต๋าอู้ก็เป็นหนึ่งในนั้น
เดิมทีเกาะหลานหยวี่นั้นไม่ได้ตกเป็นของจีนพร้อมกับเกาะไต้หวัน ชนเผ่าต๋าอู้จึงอยู่โดยอิสระมานานกว่าชนเผ่าอื่นในไต้หวัน เกาะนี้เป็นอิสระอยู่จนกระทั่งในปี 1877 จึงมีการผนวกรวมเกาะนี้เข้ากับจีน สังกัดอยู่มณฑลไต้หวัน
พอมาถึงปี 1895 จีนแพ้สงครามกับญี่ปุ่นทำให้ต้องยกเกาะไต้หวันให้ญี่ปุ่นทั้งหมด เกาะหลานหยวี่เองก็อยู่ในขอบเขตของไต้หวัน ดังนั้นก็โดนยึดไปด้วย จึงอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นจนถึงปี 1945 จึงคืนให้จีน
.
ดังนั้นชาวต๋าอู้รุ่นแก่ๆจะใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นแต่ใช้ภาษาจีนไม่เป็น ในขณะที่คนรุ่นใหม่ใช้ภาษาจีนเป็นหลัก
.
พูดถึงเรื่องภาษาแล้ว ชาวต๋าอู้มีภาษาเป็นของตัวเองอยู่ ภาษาต๋าอู้ (達悟語) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเซีย เช่นเดียวกับภาษามลายูและฟิลิปปินส์ ปัจจุบันมีแค่ชาวเกาะหลานหยวี่บางส่วนที่ยังคงใช้อยู่ ประชากรบนเกาะมี ๕ พันกว่าคน แต่คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีน้อยกว่านั้นเพราะหันไปใช้ภาษาจีนเป็นหลักหมด และมีแต่จะยิ่งค่อยๆหายไป
เผ่าต๋าอู้มีอีกชื่อเรียกว่าเผ่ายามิ (ヤミ族, yamizoku) ชื่อนี้ถูกเรียกโดยคนญี่ปุ่นในสมัยที่ญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน ตั้งโดยโทริอิ ริวโซว (鳥居 龍藏) นักมานุษย์วิทยา ชื่อนี้ถูกแปลงเป็นภาษาจีนว่า เผ่าหยาเหม่ย์ (雅美族)
ก่อนหน้านี้ในใต้หวันเองก็เรียกเผ่านี้ว่าเผ่าหยาเหม่ย์มาตลอด แต่ปัจจุบันเนื่องจากเสียงเรียกร้องของชาวเผ่าเอง ก็เลยสนับสนุนให้เปลี่ยนมาเรียกว่าเผ่าต๋าอู้ ซึ่งเป็นชื่อที่ชนเผ่านี้ใช้เรียกตัวเองจริงๆ
คำว่าต๋าอู้มาจากคำว่า Tao ในภาษาต๋าอู้ ในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า タオ族 (taozoku) ส่วนชื่อเกาะหลานหยวี่เองก็เรียกในภาษาต๋าอู้ว่า Ponso no Tao แปลตรงๆว่า “เกาะของคน”
ลวดลายบนตัวเรือใช้สีขาวดำแดง โดยสีขาวทำจากหินปูนเปลือกหอย (CaCO3) สีแดงทำจาก Fe2O3 ส่วนสีดำทำจากเถ้าถ่าน
ลายที่วาดมีอยู่หลากหลาย แต่ละหมู่บ้านก็มีรูปแบบของตัวเอง แต่โดยรวมๆสิ่งที่มักจะต้องมีอยู่ก็คือ สัญลักษณ์ตาเรือ กับรูปคน และริ้วลายที่ขอบ
สัญลักษณ์ตาเรือนี้จะติดอยู่ที่หัวและท้ายเรือ ข้างละ ๒ ดังนั้นเรือทุกลำจะมี ๔ ตา
ส่วนรูปคน มีลักษณะที่หลากหลาย ชาวต๋าอู้เองก็ยังไม่ได้รู้แน่ชัดว่าหมายถึงอะไร จากการวิจัยของนักวิชาการชาวญี่ปุ่น Tadao Shikano รูปแบบมนุษย์ถือเป็น Magamaog นักรบในตำนานของ Dawu MAGAMAOG สอนให้ชาว Dawu มีทักษะในการทำเรือต่อจิ๊กซอว์การตกปลาและการทำฟาร์มเพื่อเป็นการขอบคุณและระลึกถึงเขาชาว Dawu ใช้ลวดลายรูปคนบนเรือตัวต่อและของใช้ต่างๆเป็นของประดับตกแต่ง
1. ตำนานเล่าว่ารูปแบบมนุษย์เป็นรูปแบบที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยปีศาจซึ่งแต่ละรูปแบบแสดงถึงความหมายที่แตกต่างกัน
2. ฮีโร่ที่เป็นตัวแทนของครอบครัวและยอดตระกูลของแต่ละตระกูล
แม้จะไม่รู้ว่าข้อไหนถูก ไม่รู้ความหมายแน่ชัด แต่ก็เป็นธรรมเนียมมาช้านานว่าจะต้องวาดอยู่บนเรือ แล้วรูปนี้ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของชาวต๋าอู้ไปแล้ว
ส่วนลายที่ขอบนั้นจะเป็นเส้นหยึกหยักที่เป็นสีขาวสลับดำและมีแถบสีแดงคั่น รูปแบบลายมีอยู่หลากหลายไม่แน่นอนแล้วแต่ลำ
.
ลวดลาย หากแบ่งตามขนาดและวัตถุประสงค์การใช้งานแล้วพินป่านโจวอาจแบ่งได้เป็น ๒ ขนาด คือเรือขนาดเล็กประมาณ ๓ เมตรคนนั่ง ๒-๓ คนใช้เพื่อการประโมง และขนาดใหญ่ประมาณ ๗ เมตร คนนั่งได้ ๑๐ คน เอาไว้ใช้ในการประกอบพิธี เรือใหญ่จะเรียกว่า cinedkeran
เป็นไงบ้างครับ #BlackDesign … ศิลปะ ชีวิต และ ธรรมชาติ ART x LIFE x NATURE หลักการทำงานและการออกแบบ ทุกอย่างเป็นไปตามหลักคิดและธรรมชาตินี่ละครับ #BlackDesign
.
.
#BlackDesignThailand #BlackDesignTaiwan #CampOne
Credit : FB ท่าน อาจารย์ https://www.facebook.com/lanternartfish
บทความน่าสนใจอื่น ๆ
แคปชั่นแคมป์ปิ้งหน้าฝน: โดนใจสายแคมป์ แม้ฟ้าจะครึ้ม จากใจ Camp One NR
06 ส.ค. 2024
เคล็ดลับเกี่ยวกับการปั่นจักรยานตั้งแค้มป์สำหรับผู้เริ่มต้น
30 มิ.ย. 2023
30 แคปชั่นแคมป์ปิ้งหน้าหนาว!!! เซฟเก็บไว้เลย
06 ธ.ค. 2023
7 อุปกรณ์ทำครัว แบรนด์ Uniflame สำหรับชาวแคมป์มือใหม่
06 ม.ค. 2023
รีวิว เตาฟืนจาก minimal works Vulcan M,L
22 มิ.ย. 2023